บริการกำจัดมดคันไฟ
5 ขั้นตอนในการกำจัดมดคันไฟ
1.สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนทำบริการ
2.ฉีดพ่นน้ำยาเคมีภายในและภายนอก โดยเน้นจุดที่มีปัญหามดคันไฟ เช่น บริเวณฝาผนังรอยแตกร้าวของอาคาร วงกบประตูหน้าต่าง รังมดคันไฟ ทางเดิน บริเวณคาน รอบนอกอาคารบ้านเรือน ต้นไม้ พุ่มไม้ สวนหย่อม แหล่งอาหาร แหล่งหลบซ่อน พื้นที่สกปรก เป็นต้น
3.การใช้เคมีผงบีบพ่นหรือโรยเข้าไปในบริเวณที่ฉีดน้ำยาไม่ได้ เช่นแผงสวิทซ์บอร์ดไฟฟ้าเป็นต้น
4.ติดตามผลและควบคุมปัญหาอย่างต่อเนื่อง
5.ให้คำแนะนำในเรื่องการสุขาภิบาล การดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่เพื่อลดปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของมดคันไฟ เช่น บริเวณสวนหย่อม ต้นไม้ พุ่มไม้ แหล่งหลบซ่อน แหล่งอาหาร แหล่งขยะ เป็นต้น
สารเคมีที่ใช้ : cypermethrin, cyfluthrin, permethrin, diazinon, deltametrin, hydramethylnon, abamectin.
มดคันไฟ (Fire Ant)
มดคันไฟมีลักษณะสี เหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หนวดมี 10 ปล้อง อกแคบ เห็นชัดเจน มี 2 ปุ่ม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน มดคันไฟจะทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยโดยดินทรายรังหนึ่งๆ มีรูทางเข้าออกเล็กๆ บนพื้นดินได้หลายรู กินแมลงและซากสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร ถ้ามดคันไฟใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อย จะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟ หลังจากถูกต่อยจะมีอาการบวมแดงขยายกว้างขึ้น และจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคัน มากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น
มด (อังกฤษ: Ant) เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน
ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ
ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
มดราชา (King Ant) มีหนวดประมาณ 500-1000 ปล้อง
มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
มดพนัก (Torker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง
ปัจจุบัน มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997 พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด